บัญญัติ 7 ประการของชาวคอนโดฯ

หลายคนอาจจะคิดว่า อยู่คอนโดมิเนียมอิสระเป็นส่วนตัวดี ห้องใครห้องมัน ปิดประตูใส่กลอนล็อคกุญแจ รูดม่านหน้าต่างปิดมิด กันสายตาสอดรู้สอดเห็น ที่นี้จะทำอะไรก็ได้ จะหกคะเมนตีลังกาใส่ผ้าหรือถอดผ้า แต่บางคนอาจจะไม่รู้ว่า หากค้างค่าน้ำค่าไฟ ถ้าอยู่บ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮ้าส์ ก็จะถูกตัดน้ำตัดไฟ หรือโทรศัพท์ก็เช่นกัน

แต่อยู่คอนโดมิเนียมอาจจะหนักกว่านี้ คือไม่เพียงถูกตัดน้ำตัดไฟ อาจจะถูกล็อคห้องไม่ให้เข้าไปใช้ประโยชน์อันควรอีกด้วย

นี่เป็นเรื่องจริง ที่นิติบุคคลอาคารชุดมีสิทธิตามกฎหมายที่จะทำ และเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น ถึงที่สุดแล้ว นิติบุคคลอาคารชุดมายึดทรัพย์ในห้องชุดไปขายหรือกระทั่งการบังคับขายห้องชุดห้องใดห้องหนึ่งเพื่อชำระหนี้ยังอยู่ในขอบข่ายอำนาจทางกฎหมายที่นิติบุคคลอาคารชุดมีสิทธิทำได้อีก โอ้โห!ไหงเป็นอย่างงั้นได้

ต้องอาศัยข้อกฎหมายมาดู ก่อนอื่นพึงรู้ว่า การอยู่อาศัยในอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมมีกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 กฎหมายนี้กำหนดเรื่องราวของนิติบุคคลอาคารชุดไว้รอบด้านทีเดียว

# การเป็นเจ้าของร่วมกัน
# ความรับผิดชอบร่วมกัน
# การบริหารจัดการ
# อำนาจและบทบาทของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด
# ระเบียบพื้นฐานที่คนคอนโดฯ ต้องทำตาม
# อำนาจบังคับชำระหนี้
# คนอยู่คอนโดฯ ใจต้องโตกว่าตึก

ชีวิตคนคอนโดฯ ต้อง “โตแล้ว” ความหมาย คือ บังคับใจตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบ เพื่อส่วนรวมเป็นเบื้องต้น และให้ความร่วมมือกับส่วนรวมเพื่อโน้มน้าวเพื่อนร่วมคอนโดฯเดียวกันให้ปฏิบัติเพื่อส่วนรวม อันหมายถึง การปฏิบัติตามข้อกำหนดของอาคารชุดอย่างครบถ้วน

ประโยชน์ที่ได้รับคือ ความผาสุกของชาวคอนโดฯ และความเจริญของตัวอาคาร และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่เป็นทรัพย์สินส่วนกลางหรือสมบัติร่วมกัน

ข้อระลึกก่อนและหลังเข้าไปอยู่คอนโดฯก็คือ
“อยู่ตึกคอนโดฯ ใจต้องโตกว่าตึก”

ความคิดเห็น