"ทางด่วนลอดเจ้าพระยา" โปรเจกต์ยักษ์เชื่อม สำโรง – ถ.นราธิวาสราชนครินทร์ ตอบโจทย์นักสัญจร

หลังจากที่เงียบหายไป 2 ปี ตอนนี้โครงการ “ทางด่วนลอดเจ้าพระยา สำโรง – ถ.นราธิวาสราชนครินทร์”  ก็ได้ถูกขุดขึ้นมาอีกครั้งโดย “ศักดิ์สยาม” อุโมงค์ทางด่วนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยานี้ถือว่าเป็นทางด่วนใต้ดินเส้นแรกของประเทศไทย โดยมี MLIT (ท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น) ให้ความช่วยเหลือด้านรูปแบบการก่อสร้างและความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างในระยะทาง 8.7 กม.

 

โดยรูปแบบของโครงการเดิมทีมมีแผนสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ด้วยที่คุ้งบางกระเจ้าเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ไม่สามารถก่อสร้างได้ จึงเปลี่ยนแผนมาสร้างทางลอดแทน โดยมีลักษณะเป็นอุโมงค์ลอดใต้ดินบริเวณตำบลบางกระเจ้ายิงยาวไปสิ้นสุดที่บางนา  มีเส้นเส้นผ่าศูนย์กลาง 13 เมตร มีทางขึ้นลง 2 ด้าน ด้านหนึ่งอยู่บริเวณแยกบางนา อีกด้านหนึ่งอยู่บริเวณถ.นราธิวาสราชนครินทร์ ลึกจากท้องแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปประมาณ 13 เมตร มีระยะทาง 8.7 กม. โดยช่วงที่เป็นอุโมงค์มีความยาว 7.45 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร

 

ทั้งนี้หากมีการอนุมัติสร้างทางลอดเจ้าพระยา สำโรง – ถ.นราธิวาสราชนครินทร์ คาดว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับนักเดินทางและนักท่องเที่ยวได้ดีเลยทีเดียว

 

 

 

แก้ปัญหารถติด

โครงการ “ทางลอดเจ้าพระยา” มีลักษณะเป็นทางเลี่ยงเมือง ตัดตรงไม่ผ่านเมืองกรุงเทพที่จะต้องเจอปัญหารถติดบริเวณ สาธร สีลม บางรัก และพระราม 4  ทั้งนี้โครงการยังเชื่อมต่อทางด่วนขั้นที่ 1 (เฉลิมมหานคร) ซึ่งเป็นส่งผลดีต่อนักเดินทางที่ต้องการใช้เส้นทาง สายดินแดง-ท่าเรือ , สายบางนา-ท่าเรือ และสายดาวคะนอง-ท่าเรือ  อย่างมาก เพราะจะทำให้การเดินทางนั้นสะดวกและง่ายมากยิ่งขึ้น

 

กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

ทุกวันนี้หลายครอบครัวไม่อยากออกจากบ้าน เหตุผลหนึ่งก็มาจากปัญหารถติด แต่ถ้าหากการเดินทางสะดวกมากขึ้น ย่อมทำให้ผู้คนอยากออกจากบ้านแน่นอน ทั้งนี้จุดสิ้นสุดทางลอดเจ้าพระยาอยู่ที่บางนา ซึ่งเป็นทำเลที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เมกะบางนา ตลาดโบราณบางพลี ตลาดนัดรถไฟศรีนครินทร์ และบางกระเจ้า เรียกได้ว่าเป็นแลนด์มาร์กหลักของบางนาเลยก็ว่าได้

 

อย่างไรก็ตามโครงการนี้ยังอยู่ในช่วงเตรียมยื่นเสนอผลการศึกษาให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (ครจ.)ในกลางเดือนมีนาคม 2563 ด้วยโครงการนี้ใช้เงินลงทุนสูงและมีเส้นทางเชื่อมต่อกับทางด่วนพิเศษของการทางพิเศษ จึงอาจมอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นผู้ดำเนินโครงการ 

 

 

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

ความคิดเห็น