เคล็บลับ 500 ปี ใช้ "นม" ทาสีอาคารของชาววาติกัน

 

พระราชวัง Belvedere หากย้อนกลับไปเมื่อปี 1484 ที่แห่งนี้ถือเป็นพิพิธภัณฑ์อันล้ำค่าของวาติกัน ซึ่งในปัจจุบันกำลังทาสีใหม่ด้วยนม การใช้นมทาสีเป็นเคล็ดลับที่มีมาตั้งแต่โบราณกาล เคยมีการทดสอบและพิสูจน์แล้วว่านมสามารถอยู่ได้คงทนถาวรกว่าการใช้สีสังเคราะห์ หัวหน้าสถาปนิกของวาติกันกล่าวว่า “นมเป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องอายุการใช้งานได้ดีกว่าสีสังเคราะห์ ทั้งยังมีการทดลองและทดสอบมาแล้ว”

 

 

นมที่ใช้ทาสีอาคารมาจากวัวของสมเด็จพระสันตะปาปาในช่วงหน้าร้อนที่ Castel Gandolfo นอกกรุงโรม วิธีการคือนำนมมาผสมกับปูนขาวและสีย้อมจากธรรมชาติ ย้อนกลับไปเมื่อปี 1500 การทาสีทำได้โดยใช้มือตบไปยังกำแพงนั่นเอง

 

บนพื้นที่ความงามของสวนวาติกันกว่า 22 เฮกตาร์ พืช ต้นไม้และพื้นดินมีความเสี่ยงและเป็นอันตรายเมื่ออยู่ท่ามกลางงานประติมากรรมโบราณและเก่าแก่ เนื่องจากเชื้อราและแบคทีเรียจากพืชและดินจะค่อยๆ กัดกร่อนงานประติมากรรมที่ทำจากหินอ่อนอย่างช้าๆ ส่วนประกอบตามธรรมชาติเองก็จะค่อยๆ เกิดความเสียหาย

 

 

เพื่อค้นพบวิธีการแก้ไขปัญหาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชาววาติกันจึงดำเนินการวิจัยเป็นเวลาหลายปี พวกเขาได้เข้าร่วมงานสัมมนาระหว่างประเทศเมื่อเดือนตุลาคม 2017 โดยผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแก่นของ oregano และ thyme มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสื่อมสภาพทางชีวภาพของหินอ่อนได้ โดยไม่ทำให้เกิดอันตรายและความเสียหายต่องานศิลป์หรือสุขภาพร่างกาย

 

การทำงานกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของพนักงานถือว่ามีความสำคัญพอๆ กับงานศิลปะ พนักงานงานประจำ 100 คนของพิพิธภัณฑ์วาติกันต้องทำความสะอาดและซ่อมแซมผลงานศิลปะและงานประติมากรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพราะในทุกๆ ปีมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมถึง 6 ล้านคน

 

 

แม้ว่าราคาแรงงานจะแพง แต่ชาววาติกันก็ยอมจ้างคนมากกว่าเครื่องจักรอยู่ดี ตามที่ Zanchettin กล่าว “การฟื้นฟูงานศิลปะและสถาปัตยกรรมมีรายละเอียดเยอะ ต้องใช้ทักษะเฉพาะและมีประสบการณ์ทำงานที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำได้ มันเป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือ เกี่ยวข้องกับมือโดยตรง ดังนั้นจึงจ้างแรงงานคน ยอมจ่ายเงินให้คนย่อมคุ้มค่ากว่าเครื่องจักร” ในโลกที่คอมพิวเตอร์สามารถทำได้ทุกอย่าง แต่อย่างไรก็ตามแต่ในวาติกัน งานจากช่างฝีมือนับเป็นความงดงามของธรรมชาติอย่างแท้จริง

 

 

 

 

ที่มา : edition.cnn.com

 

 

 

ความคิดเห็น