EKH เปิดตัว “KOON Palliative Care Specialised Hospital”ระดับพรีเมี่ยม รักษาแบบ Palliative Care แห่งแรกในไทย

EKH เปิดตัว “KOON Palliative Care Specialised Hospital”ระดับพรีเมี่ยม รักษาแบบ Palliative Care แห่งแรกในไทย

บมจ.เอกชัยการแพทย์ (EKH)  ได้ฤกษ์ดีเปิดตัว “โรงพยาบาลคูน” หรือ KOON Palliative Care Specialised Hospital รองรับสังคมผู้สูงอายุ ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ให้ความรู้สึกเหมือนการพักผ่อนที่บ้าน บนพื้นที่ 2 ไร่ ในอาคารชุด 5 ชั้น รองรับผู้ป่วย 33 ห้องชุดในรูปแบบโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ให้การดูแลรักษาแบบ Palliative Care แห่งแรกของประเทศไทย ด้วยงบลงทุน 160 ล้านบาท   พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแลผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยระยะสุดท้าย  ภายใต้แนวคิด…Be near, be around, be with.   “นายแพทย์อำนาจ เอื้ออารีมิตร”  ระบุต้องการยกระดับคุณภาพรักษาของวงการแพทย์ประเทศไทย ให้มีมาตรฐานทัดเทียมกับระดับสากล

นายแพทย์อำนาจ เอื้ออารีมิตร กรรมการและผู้อำนวยการโรงพยาบาล บริษัท เอกชัยการแพทย์ จำกัด (มหาชน)  (EKH) แห่งการเปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้คนในสังคมหันมามุ่งเน้นคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัว เป็นการดูแลที่ครอบคลุมทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ เน้นการจัดการอาการไม่สุขสบายต่างๆ อย่างเข้มข้น โดยเฉพาะผู้ที่กำลังเจ็บป่วยหากได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีจะส่งผลให้มีกำลังใจที่จะใช้ชีวิตต่อไป จากเทรนด์ที่เปลี่ยนไปของสังคมรวมถึงแรงบันดาลใจของผู้ก่อตั้งที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสถานที่ดูแลคนไข้แบบใกล้ชิดและให้ความรู้สึกถึงความเอาใจใส่และอบอุ่นเป็นพิเศษ จึงเป็นที่มาภายใต้แนวคิด…Be near, be around, be with. ที่เป็นการรักษาพยาบาลและดูแลผู้ป่วยระยะยาวแบบรายเดือน ที่ให้ความรู้สึกเสมือนการอยู่อาศัยในบ้านซึ่งแตกต่างจากโรงพยาบาลทั่วไป

จากแนวคิดดังกล่าวโรงพยาบาลเอกชัยการแพทย์จึงได้เปิดตัว โรงพยาบาลคูน หรือ KOON Palliative Care Specialised Hospital ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ให้การดูแลรักษาแบบ Palliative care แห่งแรกของประเทศไทย ด้วยงบลงทุน 160 ล้านบาท  บนพื้นที่ 2 ไร่ ในรูปแบบของอาคารชุดขนาด 5 ชั้น ด้วยดีไซน์ในคอนเซปต์แบบรีสอร์ท รองรับผู้ที่เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องแบบรายเดือน จำนวน 33 ห้องชุด  โดยผู้ป่วยที่ต้องการรักษาต่อเนื่องสามารถเข้าใช้บริการได้เลยโดยไม่ต้องจ่ายค่ามัดจำล่วงหน้า ดำเนินธุรกิจภายใต้ บริษัท เอกชัย เนอร์สซิ่ง โฮม จำกัด และเป็นบริษัทในเครือของโรงพยาบาลเอกชัย EKH โดยถือหุ้นในสัดส่วน 100%

“สำหรับจุดเด่นของ KOON Palliative Care Specialised Hospital เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง ที่เชี่ยวชาญด้านการรักษาแบบประคับประคองซึ่งเป็นหลักการรักษาที่ได้รับการยอมรับระดับสากล โดยให้คำปรึกษา และวางแผนการรักษาผู้ป่วยร่วมกับคนในครอบครัว เพื่อให้ทุกฝ่ายมีคุณภาพชีวิต ความสุขที่เพิ่มขึ้นโดยใช้หลักการดูแลรักษาทั้งเชิงกายภาพร่างกายด้วยมาตรฐานโรงพยาบาล ร่วมกับการดูแลเรื่องสภาพจิตใจทั้งผู้ป่วยและคนในครอบครัวไปพร้อมๆกัน สถานที่แห่งนี้ ถือเป็นโรงพยาบาลที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวภายใต้แนวคิด Biophilic Design โดยให้ธรรมชาติเป็นศูนย์กลางการออกแบบ ที่พร้อมด้วยห้องพักที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลาย เหมือนอยู่บ้าน แตกต่างจากโรงพยาบาลทั่วไป โดยเรามีบุคลากรทางการแพทย์ และทีมงานผู้เชียวชาญดูแลผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยระยะสุดท้าย จุดมุ่งหวังของเราคือ ต้องการยกระดับคุณภาพรักษาของวงการแพทย์ประเทศไทย ให้มีมาตรฐานทัดเทียมกับระดับสากล” นายแพทย์อำนาจ กล่าว

การดูแลแบบ Palliative Care ถูกออกแบบมาเพื่อคนไข้ที่มีโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของคนไข้อย่างมากและทำให้ร่างกายเสื่อมถอยลงจนลดทอนวันเวลาในชีวิตของคนไข้ ซึ่งรวมถึงโรคมะเร็ง โรคหัวใจบางประเภท โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตวายระยะสุดท้าย โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคตับแข็งระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเรื้อรัง เช่น Amyotrophic lateral sclerosis (ALS) และอื่นๆ  โดยพร้อมดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายที่ต้องเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยครั้งเพื่อให้คนไข้และครอบครัวสุขสบายที่สุดเท่าที่ทำได้ รวมไปถึงการติดตามสุขภาพจิตของคนใกล้ชิดหลังการจากไปเป็นระยะเวลาหนึ่งปี

ทั้งนี้โรงพยาบาลคูนได้รับใบอนุญาตให้เปิดดำเนินการและพร้อมเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 อีกทั้ง บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาและมีแผนที่จะขยายโครงการโรงพยาบาลเฉพาะทางเพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

ด้าน แพทย์หญิงนิษฐา เอื้ออารีมิตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคูน  เปิดเผยว่า “บุคลากรของเราประกอบไปด้วยแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด นักจิตบำบัด และสหสาขาอื่นๆ อีกมากมาย ในอัตราส่วนระหว่างบุคลากรต่อคนไข้ที่มากเป็นพิเศษเพื่อการดูแลที่ใกล้ชิดและอบอุ่น ทีมงานที่มากด้วยประสบการณ์ของเราทำงานร่วมกันโดยมีเป้าหมายเดียวก็คือ ทำให้คนไข้มีความพึงพอใจในชีวิตมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้”

นอกจากนี้ บุคลากรทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการฟังเชิงลึก (deep listening) และพร้อมจะใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการพูดคุยและรับฟังทั้งคนไข้และครอบครัว เพราะมีเพียงการฟังอย่างตั้งใจเท่านั้นที่จะช่วยให้มีความเข้าใจและแนะนำแนวทางที่เหมาะสมที่สุดแก่คนไข้และครอบครัวได้

ความคิดเห็น