เสวนา กรุงเทพจตุรทิศ : ผ่า! ผังเมืองใหม่…พลิกโฉมกรุงเทพฯ สู่มหานครโลก สร้างกรุงเทพฯ ให้เชื่อมกันแบบไร้รอยต่อ

 

ภายในงานเสวนา เรื่อง “กรุงเทพจตุรทิศ : ผ่า! ผังเมืองใหม่…พลิกโฉมกรุงเทพฯ สู่มหานครโลก” ณ Lotus Room ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งมีการปฐกถาพิเศษในหัวข้อ “แผนการจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแบบไร้รอยต่อ” โดยคุณมนตรี ศักดิ์เมือง รักษาการที่ปรึกษาด้านการผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง ไม่ใช่แค่การเดินทางที่จะเชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ การพัฒนาพื้นที่โดยรอบเองก็จะทำให้ประชาชนมีความสุขได้อย่างไร้รอยต่อเช่นกัน

 

 

นอกจากนี้ยังมีการเสวนาในเรื่อง “กรุงเทพจตุรทิศ : ผ่า! ผังเมืองใหม่…พลิกโฉมกรุงเทพฯ สู่มหานครโลก” นำโดย คุณศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร คุณประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษาสมาคมชุดไทยและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท – พรีเมียม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และคุณอลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีบีอาร์อี ประเทศไทย จำกัด

 

 

เรื่องที่น่าสนใจของงานเสวนาครั้งนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงผังเมือง ถือเป็นแผนการพัฒนาที่ดินที่สำคัญ เพราะนอกจากจะส่งเสริมการขนส่งมวลชนให้มีความพร้อมและแข็งแกร่งแล้ว ยังช่วยสนับสนุนให้ที่ดินโดยรอบนั้นมีมูลค่าทาธุรกิจ การค้า การบริการต่างๆ ส่งผลให้พื้นที่มีความเจริญและน่าอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งทางรถไฟฟ้าแต่ละเส้นสายที่วางแผนสร้างในอนาคต จะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจให้น่าลงทุนมากยิ่งขึ้น

 

 

การพัฒนาพื้นที่ตามแนวระบบขนส่งมวลชนทางราง จะมีทั้งหมด 12 สายทาง ดังนี้ รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน, สีเขียวเข้ม, สีน้ำเงิน, สีแดงเข้ม, สีม่วง, สีส้ม, สีชมพู, สีฟ้า, สีเทา, สีเหลือง, สีแดงอ่อน และ Airport Rail Link หากมีการเปลี่ยนแปลงแผนผังนี้จะสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินตามเส้นทางรถไฟฟ้าต่างๆ ได้ เพื่อรองรับความเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ การค้า การบริการ และนันทนาการ

 

 

เพื่อรองรับการพัฒนารถไฟฟ้าสีเขียวอ่อน สีเหลือง สีน้ำตาล และสีชมพู บริเวณฝั่งเหนือของกรุงเทพฯ และส่งเสริมศูนย์ชุมชนชานเมืองฝั่งเหนือตลาดสะพานใหม่

 

เพื่อรองรับการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มและสายสีม่วง บริเวณฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ

 

สำหรับมาตรการทางผังเมืองเองก็มีข้อกำหนดใหม่ อาทิ มาตรการโอนกรรมสิทธิการพัฒนา (Tranfer of Development Right หรือ TDR), มาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus)

 

 

นอกจากจะพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าแล้ว ยังมีพื้นที่เฉพาะอีก 3 โครงการนำร่องภายใต้ผังแม่บทเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน – คลองสาน พร้อมทั้งปรับปรุงสายรถไฟฟ้าลาวาลินเดิม หรือที่เรียกว่า “สะพานด้วน” ให้เป็นหมุดหมายใหม่ของทางผ่านกะดีจีน – คลองสาน

 

 

ต่อมาเป็นโครงการปรับภูมิทัศน์รอบคลองโอ่งอ่าง มีการก่อสร้างศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวทางน้ำ – จักรยาน บริเวณใต้สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ โครงการปรับภูมิทัศน์ทางสัญจรบนโครงสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณช่องกลางสะพานพระปกเกล้า

 

 

มีแผนพัฒนาทางและปรับปรุงภูมิทัศน์ทั้งหมด 18 แห่ง

 

โมเดลย่านราชประสงค์ ตั้งแต่ถนนราชดำริ (ช่วงแยกราชประสงค์ถึงแยกประตูน้ำ) ระยะทาง 550 เมตร พัฒนาคลองซุงเป็นถนนคนเดิน ระยะทาง 300 เมตร พัฒนาท่าเรือและทางเดินเลียบคลองแสนแสบ

 

ย่านสีลม จะปรับภูมิทัศน์แยกศาลาแดงถึงแยกนรารมย์ ระยะทาง 2 กิโลเมตร

 

ย่านนวัตกรรมบางกะปิ ปรับภูมิทัศน์กว่า 664,600 ตารางเมตร

 

จากภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงผังเมืองทั้งหมด สรุปแล้ว เป็นการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีระบบขนส่งมวลชนทางรางต่างๆ เฉพาะจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สำคัญ (สยาม บางหว้า ตลิ่งชัน ท่าพระ บางกะปิ) มีการกำหนดให้บางซื่อ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมแห่งใหม่ ทั้งยังสนับสนุนให้พื้นที่ต่างๆ มีศักยภาพในการพัฒนามากขึ้น อาทิ ทำให้ย่านพระราม 9 เป็น New CBD แห่งใหม่ ส่งเสริมให้เจริญกรุงเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมพิเศษด้านนวัตกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริมศูนย์ชุมชนชานเมือง 8 แห่ง ได้แก่ มีนบุรี ลาดกระบัง ศรีนครินทร์ บางขุนเทียน บางมด ตลิ่งชัน และสะพานใหม่

 

มีการปรับระดับที่ดินเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มระยะส่งเสริมการพัฒนารอบสถานีรถไฟฟ้าสายสำคัญให้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางจาก 500 เมตร เป็น 800 เมตร หรือ 1,000 เมตร (อยู่ระหว่างการพิจารณา) และเพิ่มจุดจอดแล้วจรให้มากยิ่งขึ้นด้วย

 

ที่มา : www.prop2morrow.com

วันที่ 17 กันยายน 2561

ความคิดเห็น