เผยพฤติกรรมผู้บริโภค ปี 2018

การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ในแต่ละช่วงวัยและแต่ละระดับรายได้ โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 คน โดยสอบถามจากความถี่ในการซื้อสินค้าในแต่ละช่วงเวลา ดังนี้

– สินค้าที่ซื้อในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จะเป็นสินค้าที่มีราคาต่ำ นั่นคือ สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น น้ำอัดลม แปรงสีฟัน ขนม เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก(เตารีด หม้อหุงข้าว ไดร์เป่าผม เป็นต้น) และเสื้อผ้า  ผลปรากฎว่า

– ครอบครัวที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง มีการซื้อน้ำอัดลม แปรงสีฟัน ขนม และเสื้อผ้า มากกว่าครอบครัวที่มีรายได้น้อยอย่างมีนัยสำคัญ

– ส่วนสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 21-29 ปี มากกว่ากลุ่มอายุ 39-55 ปีอย่างมีนัยสำคัญ และครอบครัวที่มีรายได้สูง (85,001 บาทขึ้นไป) มีการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กมากกว่าครอบครัวที่มีรายได้ปานกลาง(35,001 – 85,000 บาท)และรายได้น้อย (15,001 – 35,000 บาท) อย่างมีนัยสำคัญ

 

– สินค้าที่ซื้อในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาหรือตั้งใจจะซื้อในอีก 1 ปีข้างหน้า จะเป็นสินค้าที่มีราคาปานกลาง เช่น สินค้าประเภทโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดกลาง/ใหญ่ (โทรทัศน์ ไมโครเวฟ เครื่องดูดฝุ่น และตู้เย็น ฯลฯ) พบว่า

– กลุ่มอายุน้อย(21-29 ปี) มีการซื้อหรือจะซื้อสินค้าประเภทโทรศัพท์มือถือมากกว่ากลุ่มอายุ 39-55 ปีอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงครอบครัวที่มีรายได้สูงมีการซื้อโทรศัพท์มือถือมากกว่าครอบครัวที่มีรายได้น้อยอย่างมีนัยสำคัญ

– ครอบครัวที่มีรายได้สูงและรายได้ปานกลางมีการซื้อหรือจะซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดกลาง/ใหญ่ มากกว่าครอบครัวที่มีรายได้น้อยอย่างมีนัยสำคัญ

 

– สินค้าที่ซื้อในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาหรือตั้งใจจะซื้อในอีก 5 ปีข้างหน้า จะเป็นสินค้าที่มีราคาสูง เช่น สินค้าประเภทที่อยู่อาศัย(บ้าน/คอนโดมิเนียม/ทาวน์โฮม) และรถยนต์ จากการสำรวจพบว่า

– กลุ่มที่มีอายุระหว่าง 21-47 ปี มีการซื้อหรือมีแนวโน้มที่จะซื้อที่อยู่อาศัย มากกว่ากลุ่มอายุ 48-55 ปี อย่างมีนัยสำคัญ และส่วนมากจะเป็นครอบครัวที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้สูงมากกว่าครอบครัวที่มีรายได้น้อยอย่างมีนัยสำคัญ

– กลุ่มครอบครัวมีรายได้สูง มีการซื้อสินค้าประเภทรถยนต์มากกว่ากลุ่มรายได้ปานกลางและรายได้น้อยอย่างมีนัยสำคัญ

 

ที่มา ศูนย์วิจัยศุภาลัย

 

ความคิดเห็น