พี่ใหญ่ CP คัมแบค!!! ประมูล “เมืองการบินอู่ตะเภา” 3 แสนล้าน เจ้าสัวเตรียมพร้อมลงศึกประมูล

การกลับมาอีกครั้งของ CP  กับการประมูลโครงการ”สนามบินอู่ตะเภา” หลังศาลปกครองสูงสุดคืนสิทธิในการประมูลให้อีกครั้ง ถือได้ว่าโครงการ “สนามบินอู่ตะเภา” เป็นโปรเจกต์ที่ยิ่งใหญ่มากในแถบมหานครแห่งภาคตะวันออก โดยรวมมูลค่าทั้งหมดแล้ว 2.9แสนล้านบาท 

ล่าสุดคณะกรรมการได้พิจารณาแผนธุรกิจของ CP ผ่านเรียบร้อยแล้ว โดยจะมาลุ้นกันต่อในรอบสอง วันที่ 17 ม.ค. 63 นี้ ซึ่งจะเป็นรอบสุดท้ายว่าใครจะได้โครงการ “สนามบินอู่ตะเภา” ไปครอบครอง โดยขึ้นอยู่กับว่าใครจะจ่ายผลตอบแทนแก่รัฐ 50 ปีมากกว่ากัน

 

การที่ CP กลับเข้ามาร่วมประมูลในครั้งนี้ คาดว่าจะได้เป็นผู้ชนะ เพราะจะเป็นการต่อยอดกับรถไฟความเร็วสูงที่กำลังจะเริ่มก่อสร้าง ซึ่งทำให้ 2 โครงการนี้ดำเนินการควบคู่ไปโดยไม่มีปัญหาระหว่างทางภายหลัง ทั้งเรื่องการก่อสร้างหรือเรื่องการฟ้องร้องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากโครงการใดโครงการหนึ่งสร้างช้า เป็นการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม

โครงการ “สนามบินอู่ตะเภา” เป็นโครงการที่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 6,500 ไร่ เป็นโครงการใหญ่ที่ทาง CP ยอมทุ่มทุนมหาศาลเพื่อที่จะได้โครงการนี้มาครอบครอง โดย CP จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 70% และในส่วนอีก 30% ที่เหลือจะเป็นของกลุ่มพันธมิตรไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC) มาช่วยออกแบบ วางคอนเซ็ปต์ให้อู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติและแอร์พอร์ตซิตี้ด้านธุรกิจไมซ์ (MICE) แข่งกับสนามบินชางฮี ของสิงคโปร์อีกด้วย

 

การออกแบบ “สนามบินอู่ตะเภา” บนพื้นที่ 6,500 ไร่ จะแบ่งเป็นการพัฒนาธุรกิจด้านการบิน อาทิ ศูนย์ซ่อมอากาศยาน คาร์โก้ อาคารผู้โดยสาร อาคารเทียบเครื่องบิน เป็นต้น และด้านการพัฒนาเชิงพาณิชย์บนพื้นที่โดยรอบ อาทิ โรงแรมระดับ 5 ดาว ศูนย์การค้า ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า และอาจจะร่วมกับคิงเพาเวอร์พัฒนาดิวตี้ฟรี นอกจากนี้ยังมีบี.กริมฯซัพพอร์ตระบบพลังงานและซีเมนส์ซัพพลายในส่วนรถไฟฟ้า APM วิ่งรับส่งผู้โดยสารและคนทำงานภายในสนามบิน

โดยตามแผนจะแบ่งพัฒนาเป็น 3-4 เฟส ในเฟสแรก มีอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 รองรับ 60 ล้านคนต่อปี และมีสถานีรถไฟความเร็วสูงอยู่ด้านล่าง อาคารเทียบเครื่องบิน อาจจะมีศูนย์การค้า เป็นต้น ซึ่ง ซี.พี.จะเป็นผู้วางแผนธุรกิจ การพัฒนา รวมทั้งแผนการเงินทั้งหมด

 

แต่อย่างไรก็ตาม การประมูลครังนี้เกมอาจพลิก ถ้าทาง CP ไม่ให้น้ำหนักเรื่องการยื่นวงเงินสูงสุดให้รัฐ ซึ่งจะมี 2 ทางที่ CP จะสามารถชนะการประมูลครั้งนี้ได้ คือ

1.ความเป็นไปได้ของราคากว่า 3 แสนล้านบาทที่กลุ่มบีทีเอส-หมอเสริฐเสนอ หากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเป็นไปได้ยากก็มีสิทธิ์ที่จะเชิญรายที่ 2 มาพิจารณา กรณีที่เสนอราคาสูงและสุดท้ายทำไม่ได้ มีต่อรองกันภายหลังก็มี ในการประมูลโครงการใหญ่ ๆ ทั้งรถไฟฟ้าและสื่อสาร

2.กลุ่ม ซี.พี.เสนอวงเงินบลัฟกลุ่มบีทีเอส-หมอเสริฐ สูงกว่า 3 แสนล้าน แต่แผนธุรกิจต่าง ๆ คณะกรรมการดูแล้วมีความเป็นไปได้ เพราะ ซี.พี.มีผู้โดยสารจากรถไฟความเร็วสูงอยู่ในมือ ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับผู้มาใช้สนามบิน อาจจะมีแผนธุรกิจที่เกื้อหนุนกันและกันได้ ขณะนี้จึงยังไม่มีอะไรที่แน่นอน

ทั้งนี้การที่ CP  ยอมทุ่มทุนประมูลโครงการ “สนามบินอู่ตะเภา” ก็เพื่อจะได้กลับมาต่อยอดโครงการไฮสปีด โดยนำรายได้จากโครงการนี้ไปชดเชยกับการลงทุนอีก 2.24 แสนล้าน ในไฮสปีด

 

 

 

 

 

 

 

 

วันที่ 16 มกราคม 2563

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

ความคิดเห็น