ก้าวสู่ปีที่ 20 เน็กซัส เผยสถิติ “ภาพรวมอสังหาฯ ตลอดระยะเวลา 20 ปี” จากเริ่มต้น – สูงสุด – สู่ความยั่งยืน

เน็กซัส เผยภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แบ่งเป็น 3-4 ไซเคิลหลักๆ คือ เริ่มต้น – สูงสุด – สู่ความยั่งยืน คาดในปี 2565 นี้ จะเห็นดีเวลลอปเปอร์ส่วนใหญ่เริ่มเปิดตัวโครงการที่ตรงความต้องการของผู้อยู่อาศัยจริง (Real Demand) มากยิ่งขึ้น กลุ่มซิตี้คอนโด และ ลักซัวรี่คอนโด จะกลับมาเป็นที่ต้องการของตลาดอีกครั้ง ในขณะที่ราคาของคอนโดก็จะถูกกลไกตลาด ปรับให้สะท้อนกับความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น สำหรับตลาดอาคารสำนักงานและตลาดศูนย์การค้า ยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ค่อนข้างมาก ทางรอดของผู้ประกอบการ คือ ต้องปรับบริการให้มีรูปแบบที่ชัดเจนและหลากหลายขึ้น  

นางนลินรัตน์ เจริญสุพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เผยว่า “ในโอกาสครบรอบ 20 ปี ที่เน็กซัสได้เปิดบริการด้านการเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาด การขาย ให้กับอสังหาริมทรัพย์ในทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นอสังหาฯ เพื่ออยู่อาศัย อสังหาฯ เพื่อการพาณิชยกรรม รวมถึงงานวิจัยและประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ทำให้เรามีข้อมูลสะสมอย่างมากมายทั้งตลาด เราได้เห็นการเติบโตของตลาดตามลักษณะของสินค้า โดยการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่เห็นได้ชัดที่สุด คือปี 2563 เป็นต้นมา หรือช่วงที่โควิด-19 ได้เข้ามาทำความรู้จักกับคนทั่วโลก โดยในครั้งนี้ จึงได้นำข้อมูลทั้ง 20 ปีมาเผยแพร่ให้ได้รับทราบเพื่อเห็นการเติบโต และเพื่อคาดการณ์แนวโน้มอนาคตกันได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น”  

ตลาดคอนโดมิเนียม 


ที่มา: Nexus Research, January 2022 

“ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา เราเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในตลาดคอนโดมิเนียมเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของอุปทาน อุปสงค์ ราคา ทำเล และ พฤติกรรมผู้บริโภค และเราเชื่อว่าทิศทางของตลาด จะยังคงปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และอุบัติการณ์โรคระบาดที่ทำให้การคาดการณ์ตลาดเป็นไปได้ยากขึ้น”

“ทั้งนี้ จากผลวิจัยข้อมูลในช่วง 20 ปีของเน็กซัสพบว่า ณ สิ้นปี พ.ศ.2564 อุปทานของคอนโดมิเนียมในตลาดกรุงเทพและปริมณฑล มีทั้งหมด 694,000 หน่วย การเติบโตของอุปทาน แบ่งออกเป็น ไซเคิลหลัก โดยในช่วงแรก ปี พ.ศ. 2544 – 2552 การพัฒนาคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่ จะกระจุกตัวอยู่ใจกลางเมืองและบริเวณรอบใจกลางเมือง จำนวนหน่วยที่พัฒนาสะสมมีอยู่ 123,000 หน่วย ตลาดเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ในไซเคิลที่ ช่วงปี พ.ศ. 2553 – 2561 การพัฒนาขยายตัวออกไปในทำเลรอบนอกมากขึ้น และมีดีเวลลอปเปอร์รายใหม่เข้ามาในตลาดมากขึ้น อุปทานเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยมีอุปทานสะสมในช่วง ปีเพิ่มขึ้นถึง 482,000 หน่วย อย่างไรก็ดีในช่วงไซเคิลที่ ช่วงปี พ.ศ. 2562 – 2664 ตลาดหดตัวลงอย่างมาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างโควิด-19 โดยในช่วง ปีที่ผ่านมา มีอุปทานเพิ่มขึ้นเพียง 80,100 หน่วย ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 มีคอนโดมิเนียมเปิดใหม่เพียง 16,800 หน่วยเท่านั้น  นับว่าต่ำที่สุดในรอบ 12 ปี” 

“สำหรับราคาคอนโดมิเนียมในกรุงเทพ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีการปรับตัวสูงสุดถึง เท่า จากราคาเฉลี่ยตารางเมตรละ 48,000 บาท ในปีพ.ศ. 2544 ปรับสูงที่สุดในปีพ.ศ. 2562 เป็นราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 141,800 บาทต่อตารางเมตร แต่เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 ดีเวลลอปเปอร์มีการปรับรูปแบบสินค้า ให้เข้ากับความต้องการของตลาดมากขึ้น ทำให้ราคาเฉลี่ยลดลงมาอยู่ที่ 128,600 บาทต่อตารางเมตรเมื่อสิ้นปี พ.ศ.2564 ขณะที่คอนโดมิเนียมเปิดใหม่ในปี พ.ศ.2564 นั้น ดีเวลลอปเปอร์กลับมาทำราคาที่ลูกค้าเอื้อมถึงมากยิ่งขึ้น โดยจากผลวิจัยพบว่าคอนโดมิเนียมเปิดใหม่ในปี พ.ศ.2564 มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 86,100 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นผลมาจากรูปแบบสินค้าในตลาด ที่มีการปรับตัวไปสู่ตลาดบัดเจท คอนโด (Budget Condo) มากขึ้น”

ในส่วนของความต้องการคอนโดมิเนียมนั้น ยอดขายที่เกิดขึ้นระหว่างปี เป็นยอดขายจากความต้องการอยู่อาศัยจริง โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ซื้อตัดสินใจในช่วงปีที่ผ่านมา ยังคงเป็นคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ที่ราคาเหมาะสม อย่างไรก็ตามปี 2564 ที่ผ่านมา นับว่ามียอดขายคอนโดมิเนียมต่ำที่สุดในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมียอดขายเพียง 23,400 หน่วย อัตราการขายรวมในตลาดอยู่ที่ 94%  

ทั้งนี้ แนวโน้มตลาดคอนโดมิเนียมในปี 2565 นั้น นางนลินรัตน์ เจริญสุพงษ์ คาดการณ์ว่า “ตลาดคอนโดมิเนียมในไซเคิลปัจจุบัน จะค่อยๆ ขยับกลับมาเติบโตอย่างช้าๆ ราคาตลาดรวมอาจทรงตัว หรือปรับขึ้นไม่มาก อันเนื่องมาจากคอนโดมิเนียมที่พัฒนาใหม่ๆ จะเจาะกลุ่ม บัดเจท คอนโด มากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ธุรกิจคอนโดมิเนียมจะมีการเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างรวดเร็ว จาก 20 ปีที่อยู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มา พบว่าตลาดเติบโตอย่างก้าวกระโดด ความต้องการอยู่อาศัยเติบโต และผลักดันให้ราคาคอนโดมิเนียมเติบโตสูงกว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ และรายได้จริง ดังนั้น จากปี 2565 เป็นต้นไป ในระยะกลางการเติบโตในตลาดคอนโดมิเนียม จะยังคงอยู่อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ราคาที่เติบโตจะสะท้อนความต้องการจริงมากยิ่งขึ้น สำหรับในปี 2565 คาดว่าตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพ จะมีโครงการเปิดใหม่ไม่ต่ำกว่า 30,000 หน่วย และอุปทานจะเติบโตใน ตลาดหลัก คือ ตลาดลักชัวรี่ ใจกลางเมือง และตลาดซิตี้คอนโด และคอนโดราคาย่อมเยารอบนอกเมือง ซึ่งการเติบโตจะมาจาก ปัจจัยหลักที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ได้แก่ คอนโดมิเนียมกลางเมือง เกิดจากความต้องการบ้านหลังที่ ที่ใกล้ที่ทำงาน ใกล้โรงเรียน หรือเมื่อสูงวัยขึ้น ต้องการย้ายเข้ามาอยู่ในเมือง เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทาง การดูแลที่อยู่อาศัยขนาดกะทัดรัด ปลอดภัย และสะดวกสบายมากขึ้น และตลาดซิตี้คอนโดเกิดจากปัจจัยการขยายตัวของเมืองและรถไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการที่อยู่อาศัยใกล้รถไฟฟ้า เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางและทำงาน

ตลาดพื้นที่พาณิชยกรรม 

นายธีระวิทย์ ลิ้มทองสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด ผยว่า “ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ตลาดพื้นที่พาณิชยกรรม มีการเปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน ทั้งในเรื่องของจำนวนพื้นที่เช่า พฤติกรรมการเช่า และราคาค่าเช่า รวมถึงปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการขยายตัวของตลาด เช่น การสร้างรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน โดยปัจจุบัน ตลาดอาคารสำนักงานและตลาดศูนย์การค้าได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ค่อนข้างมาก อีกทั้งตลาดศูนย์การค้าจะสวิงตัวมากกว่า เนื่องจากมีปัจจัยอ่อนไหวที่มีผลต่อตลาดได้ง่าย อาทิ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความไม่สงบทางการเมืองและเหตุการณ์โรคระบาด”

ตลาดอาคารสำนักงาน 

ที่มา: Nexus Research, January 2022

“จากผลสำรวจตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ตลาดอาคารสำนักงานมีการขยายตัวมาก และมีการเติบโตที่ดีมาโดยตลอด ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการกระจายตัวของอาคารสำนักงานคือการสร้างรถไฟฟ้า ทำให้เกิดอาคารสำนักงานตามแนวเส้นรถไฟฟ้ามากขึ้น โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงหลัก ได้แก่ ในช่วงแรกปีพ.ศ. 2544 – 2552 ในช่วงต้น เป็นช่วงขาขึ้นของตลาดจากการฟื้นตัวของวิกฤตต้มยำกุ้ง ตลาดมีการดีดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในปี 2547 จากนั้นเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์และความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ ทำให้ตลาดอาคารสำนักงานได้รับผลกระทบไปด้วย ตลาดจึงหดตัวลงเล็กน้อยในปี 2552 โดยทั้งช่วงที่ 1 มีอุปทานใหม่เข้ามาในตลาดเฉลี่ย 8% ต่อปี และตลาดมีการเติบโตถึงประมาณ 1.5 เท่าตัว จากนั้นเข้าสู่ช่วงที่ 2 คือระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2564 ตลาดเริ่มกลับมาขยายตัวอีกครั้ง โดยมีอุปทานใหม่ ๆ เข้ามาเติมในตลาดเฉลี่ยปีละ 2-3% อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดชะลอตัวลงอีกครั้ง และนับเป็นการหดตัวสูงสุดในรอบ 20 ปี โดยอุปทานทั้งกรุงเทพฯ ณ สิ้นปี 2564 มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 6.3 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นประมาณ 2.3 เท่าจากปี 2544

“ในแง่ของอัตราการเช่า จากการฟื้นตัวของวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงที่ 1 ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ มีอัตราการเช่าที่สูงมากมาโดยตลอด โดยในช่วงที่ 1 มีอัตราเช่าประมาณ 70% ในช่วงต้น จากนั้น มีการดีดตัวสูงขึ้นอยู่ในระดับสูงที่ประมาณ 90-95% แม้จะมีอุปทานเพิ่มขึ้นมาในตลาดอย่างมากในเวลาต่อมา ขณะที่ในช่วงที่ 2 อัตราการเช่ายังคงทรงตัวอยู่ระดับเดิมที่ประมาณ 90-95% ตลอดเกือบ 10 ปี และหดตัวลงอีกครั้งจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยอัตราการเช่าลดลงอยู่ที่ 88% ถือเป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 

“ทั้งนี้ ราคาค่าเช่าสอดคล้องกับอัตราการเช่า โดยในรอบ 20 ปี ราคาค่าเช่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 1 เท่าตัวจากราคา 380 บาท/ตารางเมตร/เดือนในปี 2544 มาอยู่ที่ประมาณ 800 บาท/ตารางเมตร/เดือน ณ สิ้นปี 2564  โดยราคาค่าเช่าเพิ่มขึ้นที่ประมาณ  3-5% ต่อปีมาโดยตลอด ทั้งนี้ จากการระบาดของโควิด-19 รวมถึงอุปทานใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาค่าเช่าปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าเช่าเฉลี่ยลดลง 1% Y-o-Y หดตัวต่ำที่สุดในรอบ 20 ปีของตลาดอาคารสำนักงาน”

โดยเน็กซัสฯ ยังคงคาดการณ์ว่า จะมีอุปทานเข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะมีอุปทานใหม่รวมถึง 1.9 ล้านตารางเมตรในอีก 5 ปีข้างหน้า คิดเป็นพื้นที่สำนักงานเกรดเอ กว่า 90% ส่งผลให้ค่าเช่าเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอาคารใหม่ ๆ รวมถึงอาคารสำนักงานเก่าที่จะหายไปในอนาคตตามอายุอาคาร แต่อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลอย่างมากในแง่ของการใช้งานพื้นที่สำนักงาน ทำให้การคาดการณ์ความต้องการใช้พื้นที่สำนักงานได้ยาก

ตลาดศูนย์การค้า  

นายธีระวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ตลาดพื้นที่ศูนย์การค้าในพื้นที่ Central Retail District (CRD) ได้แก่ บริเวณสยามสแควร์ ราชประสงค์ และพร้อมพงษ์ ได้รับผลกระทบทั้งจากเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง เศรษฐกิจและโรคระบาด โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงหลัก ๆ คือ ช่วงที่ 1 ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544  2547 เป็นช่วงเติบโตจากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมา โดยมีอุปทานสะสมอยู่ที่ประมาณ 250,000 ตารางเมตร แต่ผลกระทบลูกโซ่จากเหตุการณ์วิกฤตทางการเงินในปี 2540 นั้น ส่งผลให้ทุนต่างชาติทยอยถอนทุนออกไป มีการปิดตัวของหลายห้าง รวมถึงห้างเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ หรือในปัจจุบันคือเซ็นทรัลเวิลด์ การแพร่ระบาดของ SARS ในปี 2546 การแพร่ระบาดของ H1N1 และ สึนามิในปี 2547 ส่งผลให้ตลาดย่อตัวลง จากนั้นเข้าสู่ในช่วงที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2548  2553 เศรษฐกิจฟื้นตัวและนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นกำลังซื้อสำคัญอีกด้วย ในช่วงเวลาดังกล่าว มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ขึ้นมาถึง 2 ห้าง คือ สยามพารากอน และ เซ็นทรัลเวิลด์ ทำให้มีอุปทานสะสมที่ประมาณ 550,000 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากช่วงที่ 1 มากกว่าเท่าตัว อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางการเมือง และการประท้วงในย่านราชประสงค์ ศูนย์การค้าในบริเวณนั้นได้รับความเสียหาย ทำให้พื้นที่บางส่วนถูกปิดซ่อมแซม ต่อมาเข้าสู่ในช่วงที่ 3 คือระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2564 มีอุปทานใหม่เข้ามาเติมเต็มตลาดมากขึ้น อาทิ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเอ็มบาสซี และเอ็มควอเทียร์ จนกระทั่งตลาดชะลอตัวลงอีกครั้งจากหลายปัจจัย รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงจากเหตุการณ์เรือล่มที่จังหวัดภูเก็ตในปี พ.ศ. 2561 และต่อเนื่องด้วยการแพร่ระบาดขอโควิด-19 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเป็น 0 อีกทั้งศูนย์การค้าต้องปิดให้บริการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดอีกด้วย โดย ณ สิ้นปี 2564 มีอุปทานรวมทั้งสิ้นประมาณ 635,000 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น 2.5 เท่าจากปี 2544” 

ที่มา: Nexus Research, January 2022 

“ตลาดศูนย์การค้ามีอัตราการเช่าที่ดีมาโดยตลอด โดยคงตัวอยู่ที่ประมาณ 93-97% มาตลอด 20 ปี  ถึงแม้จะมีอุปทานใหม่ทยอยเข้ามาในตลาดก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่ลากยาวของโควิด-19 ส่งผลให้ศูนย์การค้าได้รับผลกระทบอย่างมาก ทั้งคำสั่งปิดศูนย์การค้าชั่วคราว กำลังซื้อในประเทศหดตัว และไม่มีกำลังซื้อจากนักท่องเที่ยว ทำให้อัตราการเช่าลดลงเหลือ 91% ณ สิ้นปี 2564 ซึ่งนับว่าต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี”

“ในแง่ของราคาค่าเช่าชั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 1,700 บาท/ตารางเมตร/เดือนในปี 2544 เป็น 3,500 บาท/ตารางเมตร/เดือนในปี 2564 เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าเช่าในแต่ละช่วง พบว่าในช่วงที่ 1 มีอัตราการเติบโตของค่าเช่าสูงที่สุดที่ประมาณ 10% ต่อปี จากนั้นอุปทานใหม่ ๆ ทยอยเข้ามาในตลาด ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นตามมา ส่งผลให้อัตราค่าเช่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเฉลี่ยที่

ความคิดเห็น