3 บริการจาก “ศูนย์หัวใจ” ตรวจหาความผิดปกติได้ ลดความเสี่ยงเร็วกว่า!

หนึ่งในโรคยอดนิยมที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของคนไทยอีกต่อไปนั่นก็คือ ‘โรคหัวใจ’ เมื่อถึงเวลาตรวจสุขภาพประจำปีก็อย่ามองข้ามโปรแกรมการตรวจนี้ไป เพื่อที่จะได้สามารถรักษาได้ทันเวลาตั้งแต่แรกช่วงแรกๆ ที่ตรวจพบ แต่ทั้งนี้โปรแกรมหรือรูปแบบการตรวจของศูนย์หัวใจโดยทั่วไปจะมีวิธีไหนบ้าง และในแต่ละโปรแกรมการตรวจก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย แต่จะมีวิธีไหนบ้าง บทความนี้มีข้อมูลดีๆ มาแชร์กัน

ตรวจสมรรถภาพหัวใจแบบ EST

มากันที่วิธีการตรวจหัวใจจากศูนย์หัวใจอย่างแรกคือการตรวจสมรรถภาพหัวใจ หรือ Exercise Stress Test (EST) สำหรับวิธีการนี้ศูนย์หัวใจจะเลือกตรวจหาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดอันเนื่องมาจากสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยแสดงอาการถ้าหากไม่ได้เข้ามาตรวจที่ศูนย์หัวใจก็อาจจะไม่ทราบมาก่อน ซึ่งการตรวจด้วยโปรแกรมนี้แพทย์จะเลือกใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจในการจับจังหวะการเต้นของหัวใจถึงจะทราบและวินิจฉัยอาการได้

ตรวจเพื่อหาแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ

อีกหนึ่งวิธีที่ศูนย์หัวใจมักจะใช้ในการตรวจคัดกรองว่ามีแคลเซียมหรือหินปูนเข้าไปเกาะที่บริเวณหลอดเลือดแดงหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นแล้วบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจอาจทำงานได้ช้าลงและนำไปสู่การอุดตันในที่สุด หากไม่เข้ามารับการตรวจที่ศูนย์หัวใจก็อาจจะเป็นภัยเงียบและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด สำหรับผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงและควรเข้ามารับการตรวจที่ศูนย์หัวใจคือผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ตลอดไปจนถึงเป็นผู้มีโรคประจำตัวได้แก่เบาหวาน ความดันโลหิต หรือผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำควรจะเข้ามารับการตรวจที่ศูนย์หัวใจเสียตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้ประเมินอาการได้อย่างทันท่วงที

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับการตรวจความสมบูรณ์ของการเต้นหัวใจ ศูนย์หัวใจมักจะเลือกใช้โปรแกรมนี้ในการตรวจ เพื่อประเมินอาการและหาสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง หากคุณคือผู้ที่มักจะมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นประจำก็แนะนำให้เข้ามาที่ศูนย์หัวใจเพื่อพบแพทย์เฉพาะทางและรับการตรวจจะดีกว่า เพื่อที่จะได้หาสาเหตุที่หัวใจทำงานผิดปกติได้นั่นเอง

การเข้ารับโปรแกรมการตรวจจากศูนย์หัวใจนั้นจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายวิธี อย่างไรก็ตามแนะนำว่าให้คนไข้เข้ามาพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อประเมินอาการในระดับต้นก่อนจะดีกว่า จากนั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัยส่งตัวเพื่อเข้าตรวจหัวใจด้วยวิธีต่างๆ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและอาการทางร่างกายของคนไข้เอง เพื่อให้แพทย์จากศูนย์หัวใจสามารถนำเอาผลที่ได้จากการตรวจไปวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพในลำดับถัดไป

ความคิดเห็น