แรงงานต่างด้าว MOU กับแรงงานต่างด้าวกลุ่มบัตรชมพูมีความแตกต่างกันอย่างไร

เมื่อแรงงานต่างด้าวถือเป็นอีกกลุ่มบุคคลสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของเมืองไทยอย่างมาก โดยเฉพาะภาคเอกชนที่ต้องการแรงงานเข้ามาช่วยทำงานในส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพนักงานในโรงงาน พนักงานบริการ แรงงานก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งการจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายย่อมเป็นเรื่องดีมากกว่า เพราะช่วยให้องค์กรมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาอื่นใดตามมาภายหลัง ซึ่งเมื่อพูดถึงการจ้างแรงงานต่างด้าวปัจจุบันที่มักพบเจอบ่อยมากคือ การแจ้งแรงงานต่างด้าวแบบ MOU และ แรงงานต่างด้าวกลุ่มบัตรสีชมพู ซึ่งเคยสงสัยหรือไม่ว่าทั้ง 2 รูปแบบนี้แตกต่างกันอย่างไร?

ทำความเข้าใจการจ้างแรงงานต่างด้าว MOU

การจ้างแรงงานต่างด้าว MOU คือ รูปแบบของการจ้างแรงงานจากต่างประเทศรวม 3 ประเทศ ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ให้สามารถเข้ามาทำงานในเมืองไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งมีการระบุเอาไว้ชัดเจนในเอกสารหรือหนังสือบันทึกข้อตกลง (Memorandum of Understanding) โดยเป็นการร่วมมือตกลงกันระหว่างหน่วยงานของไทยไทยและหน่วยงานของทั้ง 3 ประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีการส่งตัวแทนเพื่อลงสนามในบันทึกข้อตกลงให้เอกสารสามารถมีผลบังคับใช้

ดังนั้นหากสรุปให้เข้าใจง่ายมากขึ้น แรงงานต่างด้าว MOU จึงเป็นกลุ่มที่เดินทางเข้ามาทำงานในเมืองไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ลายลักษณ์อักษรของข้อตกลงดังกล่าวที่เกิดรระหว่างฝั่งรัฐบาลไทย เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา

ทางนายจ้างฝั่งไทยต้องมีการทำ Demand MOU (คำร้องขอเพื่อนำเข้าแรงงานต่างด้าว) มีการไปยื่นคำร้องกับสำนักงานจัดหาแรงงานในจังหวัดหรือสำนักงานในกรุงเทพฯ เขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ แจ้งจำนวนแรงงาน แจ้งสัญชาติ จากนั้นกระทรวงแรงงานจะทำหน้าที่ประสานไปยังประเทศต้นทางของแรงงานเหล่านั้นเพื่อให้ประกาศรับสมัครงานตามที่องค์กรในเมืองไทยระบุรายละเอียดเอาไว้ เมื่อหน่วยงานของประเทศต้นทางหาคนได้ก็จะส่งรายชื่อมาให้หน่วยงานของเมืองไทยตรวจสอบและอนุมัติในลำดับต่อไป

หรือในกรณีที่นายจ้างไม่ต้องการความยุ่งยากเกี่ยวกับการดำเนินการ Demand MOU จะติดต่อกับทางบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวก็เป็นอีกวิธีที่มีความสะดวก รวดเร็ว ได้แรงงานตามที่คาดหวังโดยไม่ต้องวุ่นวายกับเงื่อนไขหรือการปรับเปลี่ยนกฎหมายใด ๆ ของทางรัฐบาลเลย นายจ้างมีหน้าที่แค่เตรียมเอกสารให้ครบถ้วนเท่านั้น

ข้อดีของการจ้างแรงงานต่างด้าว MOU

  • เป็นการการันตีว่าแรงงานทุกคนที่เข้ามาทำงานผ่านความร่วมมือ MOU นี้ถูกต้องตามกฎหมาย 100% ไม่ต้องกังวลใด ๆ ในภายหลังทั้งสิ้น
  • จำนวนแรงงานที่นำเข้าสามารถทำได้ในปริมาณมากตามความเหมาะสมหรือความต้องการของหน่วยงาน
  • มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าหากเทียบกับการต้องดำเนินการจ้างแรงงานด้วยวิธีอื่น ๆ
  • สามารถระบุคุณสมบัติเพิ่มเติมในการจัดหาแรงงานได้ เช่น เพศ ช่วงอายุ ทักษะ-ความถนัดของงาน

ทำความเข้าใจแรงงานต่างด้าวกลุ่มบัตรสีชมพู

ขณะที่การจ้างแรงงานอีกกลุ่มที่นายจ้างมักได้ยินกันบ่อย ๆ เป็นกลุ่มที่เรียกว่า แรงงานต่างด้าวกลุ่มบัตรสีชมพู คือ กลุ่มแรงงาน 3 ประเทศ ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ซึ่งเดิมทีเป็นแรงงานที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยแบบผิดกฎหมายทุกประเภท อาทิ

  • หลบหนีเข้าเมือง ทั้งกลุ่มเอกสารเคยมีแต่หมดอายุ เอกสารไม่ถูกต้อง หรือไม่มีเอกสารใด ๆ
  • มีวีซ่าทำงานแต่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน
  • เคยมีบัตรสีชมพู แต่หมดอายุไปแล้ว
  • มีเฉพาะวีซ่าท่องเที่ยว
  • มีเอกสารครบถ้วนแต่นายจ้างเก่าไม่แจ้งออก นายจ้างใหม่แจ้งเข้าไม่ทัน หรือใบแจ้งออกหมดอายุ

กลุ่มแรงงานเหล่านี้จะได้รับการผ่อนปรนจากรัฐบาลไทยให้สามารถอยู่อาศัยและทำงานในประเทศไทยได้ โดยมีข้อแม้ว่าต้องมีใบอนุญาตทำงาน (บัตรสีชมพู) อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยขั้นตอนของการต่ออายุหรือทำบัตรใหม่ก็จะแตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแรงงานแต่ละคน

อย่างไรก็ตามหากกลุ่มแรงงาน 3 ประเทศที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้ดำเนินการทำบัตรสีชมพูให้ถูกต้องก็จะถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางของตนเอง ด้วยเหตุนี้หากนายจ้างคนไหนรู้ว่าแรงงานของตนยังทำงานแบบผิดกฎหมายแนะนำให้ดำเนินการตามวิธีที่ถูกต้องเพื่อจะได้ไม่ต้องมีปัญหาเดือดร้อนภายหลังนั่นเอง

นายจ้างทุกคนต้องจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

เป็นสิ่งที่ยังคงเน้นย้ำให้นายจ้างทุกคนเข้าใจอยู่เสมอว่า การจ้างแรงงานต่างด้าวแบบผิดกฎหมายถือเป็นเรื่องใหญ่และหากมีการตรวจสอบพบเจอย่อมโดนดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งตัวนายจ้างเองรวมถึงลูกจ้างที่ไม่ได้เข้ามาในประเทศด้วยความถูกต้องด้วย นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่นายจ้างควรให้ความใส่ใจและปฏิบัติตามขั้นตอนให้ครบถ้วน ในปัจจุบันเองมีวิธีศึกษาข้อมูลเยอะมาก รวมถึงกรณีเลือกใช้บริการบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวก็เป็นอีกวิธีที่ตอบโจทย์ จ่ายเงินครั้งเดียวจบ ทางบริษัทพร้อมดำเนินการให้แบบครบถ้วน รอจ้างงานจากแรงงานเหล่านั้นได้เลย

ทั้งหมดนี้คือความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างการเลือกจ้างแรงงานต่างด้าว MOU กับแรงงานต่างด้าวในกลุ่มบัตรสีชมพู ในฐานะของการเป็นนายจ้างหากต้องการใช้แรงงานที่ถูกกฎหมายก็ต้องดำเนินการให้เรียบร้อย และครบถ้วนตามขั้นตอนที่ระบุ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดบวกกับทางรัฐบาลเองพยายามผลักด้านกฎหมายหลายรูปแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกฝ่ายมากที่สุด หรือถ้าไม่มั่นใจจะลองปรึกษากับบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวก่อนก็ไม่ใช่ปัญหาเลย ดีกว่าทำผิดแล้วเจอกับบทลงโทษทางกฎหมาย

ความคิดเห็น