เช็กด่วน! ไอ จาม เกิดผื่นคัน อาการต้องสงสัยของการแพ้ขนสุนัข
คนที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงย่อมรู้ดีว่าการมีสัตว์เลี้ยงอยู่เคียงข้างก็นับได้ว่าเป็นเพื่อนคู่ใจ โดยเฉพาะกับสุนัขที่นับได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความจงรักภักดี ที่ต้องการความใส่ใจ และการดูแลอย่างใกล้ชิดที่ต้องใช้การสัมผัส เช่น การลูบขน การกอด การหอม แต่บางคนอาจมีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยเกิดขึ้นมาได้ทั้งอาการ ไอ จาม หายใจไม่สะดวก ผื่นขึ้น เมื่ออยู่ใกล้กับสุนัข นั่นอาจเป็นสัญญาณของการแพ้ขนสุนัข แต่ไม่ต้องตกใจไปเพราะเรามีวิธีการดูแลตัวเอง และการรักษาเบื้องต้นมาฝากกัน
เช็กก่อน! คุณเข้าข่ายแพ้ขนสุนัขหรือไม่
สารก่อภูมิแพ้จากการแพ้ขนสุนัข รวมถึงสัตว์ชนิดอื่นนั้น จะเข้าไปกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ตามอวัยวะในร่างกาย โดยอาจมีอาการ ดังนี้
- หากใจไม่สะดวก คัดจมูก
- ไอ จาม น้ำมูกไหล
- ระคายตา เกิดอาการคันจนตาแดง น้ำตาไหล
- เจ็บปวดบริเวณใบหน้า
- ใต้ตาบวมช้ำ
- คันบริเวณจมูก ริมฝีปาก และลำคอ
- มีเสมหะในลำคอ
- ในบางคนที่แพ้รุนแรงอาจมีอาการทางผิวหนังร่วมด้วย เช่น เกิดลมพิษ กลาก ตุ่มขึ้น ผื่นขึ้น มีอาการคัน
เมื่อทำการตรวจสอบอาการต้องสงสัยไปแล้ว คุณอาจพบว่าตัวเองเข้าข่ายแพ้ขนสุนัข สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการเช็กให้ชัวร์ ว่าอาการที่เป็นคือการเกิดโรคภูมิแพ้กับสัตว์เลี้ยงแน่แล้วหรือไม่ โดยสามารถทำการทดสอบได้ ดังนี้
- Skin Test การทดสอบโดยการสะกิดผิวหนัง ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการนำสารที่คาดว่าแพ้มาหยดตรงที่สะกิด ถ้ามีอาการแพ้จะมีผื่นขึ้นและรู้สึกแสบคัน ซึ่งจะสามารถทราบผลได้ภายใน 10-20 นาที
- Rest Test การทดสอบภูมิแพ้โดยการเจาะเลือด และนำไปตรวจ เหมาะสำหรับคนที่ทานยาแก้แพ้เป็นประจำ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบสะกิดผิวหนัง และแพทย์มักจะแจ้งผลให้ทราบผ่านการนัดครั้งต่อไป
ทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าเป็นภูมิแพ้ขนสุนัข
การต้องหลีกเลี่ยงจากสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงอย่างเด็ดขาดทันทีเมื่อรู้ว่าแพ้ขนคงเป็นสิ่งสุดท้ายที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะทำ ดังนั้นการค่อย ๆ หลีกเลี่ยง และปรับพฤติกรรมจึงเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด โดยสามารถเริ่มทำได้ตามนี้เลย
- จำกัดบริเวณสัตว์เลี้ยง ให้แยกพื้นที่คนละห้อง คนละส่วน หรือ สำหรับคนที่เป็นหนักอาจจะต้องให้สัตว์เลี้ยงอยู่ภายนอกบริเวณบ้าน
- ทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงเป็นประจำด้วยการอาบน้ำ อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยงโดยตรงทั้งการจูบ หอม กอด แต่ถ้ายังไม่สามารถทำได้ก็ให้ล้างมือ หน้า และตัวด้วยสบู่หลังการสัมผัสทุกครั้ง
- ใช้เครื่องฟอกอากาศที่มี HEPA filter ภายในบ้าน หรือ ในห้องที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ เพื่อลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้จากสัตว์ที่ฟุ้งอยู่ในอากาศ
- ใช้ยารักษาโรคภูมิแพ้ โดยปรึกษาแพทย์เพื่อหาตัวช่วยลดอาการแพ้ เช่น ยาต้านฮีสตามีน ยาแก้แพ้ ยาลดอาการผื่นคัน และยาสเตียรอยด์พ่นจมูก