รู้จัก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ประกันภาคบังคับที่คุณห้ามละเลยเด็ดขาด!

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ เป็นประกันภาคบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยในเรื่องของการใช้รถใช้ถนน ซึ่งกำหนดให้ผู้ขับขี่ทุกคนต้องทำประกันภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. สำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของตัวเอง เพื่อเป็นหลักประกันเพิ่มความมั่นใจว่า หากเกิดอุบัติเหตุอะไรขึ้นมาจะมีความคุ้มครอง โดยผู้ขับขี่มีหน้าที่ไปต่อ พ.ร.บ. ทุกปี ไม่เช่นนั้นอาจมีความผิดตามกฎหมายได้ ซึ่งหลายคนเป็นผู้ขับขี่หน้าใหม่ อาจจะยังไม่รู้จักประกันภาคบังคับนี้ดีพอ ในบทความนี้ เราจึงจะพาทุกคนไปรู้จักกับพ.ร.บ. สำหรับรถมอเตอร์ไซค์กันให้มากยิ่งขึ้น

 

 

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์คุ้มครองอะไร

ประกัน พ.ร.บ. เป็นประกันภาคบังคับที่เมื่อเราจ่ายเบี้ยไปก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กำหนด มาดูกันดีกว่าว่า พ.ร.บ. จะคุ้มครองอะไรให้ผู้ขับขี่อุ่นใจได้บ้าง

  • คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น หากใครเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน และในกรณีที่เกิดเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ พ.ร.บ. ก็จะจ่ายเงินชดเชยให้ 35,000 บาทต่อคน โดยค่าชดเชยนี้สามารถเบิกได้ไม่ว่าผู้ขับขี่จะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด และคุ้มครองครอบคลุมทั้งคนขับเองและผู้โดยสารที่ซ้อนท้ายมาด้วย
  • พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนชดเชยให้เมื่อพิสูจน์แล้วว่าทางผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อนท้าย โดยจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงในวงเงินไม่เกิน 80,000 บาท ชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอีก 300,000 บาท ชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะตามที่กำหนด และชดเชยการขาดรายได้เมื่อต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน

 

ข้อดีของการมี พ.ร.บ. ที่มากกว่าแค่การปฏิบัติตามกฎหมาย

หลายคนคงเคยสงสัยว่าทำไมเราต้องไปจ่ายเงินค่า พ.ร.บ. ทุกปี ทั้ง ๆ ที่เราอาจจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากเงินจำนวนนั้นที่จ่ายไปเลยก็ได้หากระมัดระวังตัวดีพอ เรามาดูข้อดีของการทำ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์กันเลยดีกว่า

  • แน่นอนว่าไม่ต้องเสียค่าปรับหากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่าไม่ทำ พ.ร.บ. ตามกฎหมาย
  • พร้อมรับทุกความไม่แน่นอน เพราะไม่มีใครรู้ว่าอุบัติเหตุจะมาเยือนเมื่อไหร่ บางทีผู้ขับขี่ระมัดระวังตัวดีแล้ว แต่อุบัติเหตุวิ่งเข้ามาหาเอง ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. จะช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว
  • ช่วยแสดงความรับผิดชอบคู่กรณี หากฝ่ายตรงข้ามบาดเจ็บ แน่นอนว่า ผู้ขับขี่เองต้องช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งในส่วนนี้ หากมี พ.ร.บ. เอาไว้ก็จะเบาใจส่วนของตัวเองไปได้บ้าง ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในเหตุฉุกเฉิน

 

ได้ทำความรู้จักกับ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์และข้อดีของการต่อ พ.ร.บ. กันไปแล้ว อย่าลืมเช็กว่าต้องต่อ พ.ร.บ. ครั้งต่อไปเมื่อไหร่ และเลือกซื้อ พ.ร.บ. ผ่านตัวแทนที่เชื่อถือได้เพื่อความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

 

ความคิดเห็น