เปิดฟังก์ชั่น “บ้านกลางเมือง คลาสเซ่” ซูเปอร์ลักชัวรี่วิลล่า 3 ชั้น โครงการใหม่จาก AP

บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เปิดตัว (Baan Klang Muang CLASSE) ซูเปอร์ลักชัวรี่วิลล่า 3 ชั้น ภายใต้แนวคิด ‘Multiverse Layouts’ การออกแบบพื้นที่ที่คำนึงถึงรูปแบบการใช้ชีวิตในแนวตั้งและแนวนอนไปพร้อมๆ กัน สร้างมิติใหม่ให้กับพื้นที่ใช้สอยและการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ 3 ชั้นได้อย่างไร้รอยต่อ ตอบสนองความต้องการใช้ชีวิตที่หลากหลายของคน 3 ช่วงวัยในครอบครัว เปิดขายราคาเริ่มต้น 25 ล้านบาท

Baan Klang Muang CLASSE-001

Baan Klang Muang CLASSE-002

 

“บ้านกลางเมือง คลาสเซ่ เอกมัย – รามอินทรา” ตั้งอยู่ถนนสุคนธสวัสดิ์ 19 มีจำนวนทั้งสิ้น 156 ยูนิต มูลค่าโครงการ 2,560 ล้านบาท วางการเปิดขายเป็น 2 เฟส ได้แก่ เฟสที่ 1 จำนวน 56 ยูนิต (เปิดพรีเซล 5-6 พ.ย. นี้) โดยในเฟสแรก จะเป็นซูเปอร์ลักชัวรี่วิลล่า 3 ชั้น จำนวน 2 โมเดล ได้แก่ MONTE และ ETHNA สมบูรณ์พร้อมด้วย 5 ห้องนอน 6 ห้องน้ำ 2 ห้องนั่งเล่น พร้อมที่จอดรถ 3 คัน พื้นที่ใช้สอย 346-454 ตารางเมตร จำนวน 56 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 25 ล้านบาท และเฟสที่ 2 จำนวน 100 ยูนิต (คาดว่าจะเปิดขายช่วงต้นปี 2560)

โครงการนี้ได้รับการพัฒนาบนที่ดินขนาด 32.3 ไร่ ในทำเลเชื่อมต่อย่านธุรกิจใจกลางเมือง แวดล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับครอบครัวคนเมือง อาทิ เซ็นทรัล อีสต์วิลล์, CDC และเดอะ วอล์ค เป็นต้น

Baan Klang Muang CLASSE-003

 

สำหรับแนวคิดการออกแบบโครงการ “บ้านกลางเมือง คลาสเซ่” ภายใต้นวัตกรรม Multiverse Layouts ซึ่งเป็นวิธีคิดในการออกแบบพื้นที่แนวตั้งและแนวนอนพร้อมกัน ก่อให้เกิดมิติด้านพื้นที่ใช้สอยและการใช้งานที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ 3 ชั้น อีกทั้งยังสร้างความต่อเนื่องของสเปซภายนอกบ้านสู่ภายในบ้าน ตอบสนองความต้องการใช้ชีวิตที่หลากหลายของคน 3 ช่วงวัยในครอบครัว ซึ่งประกอบด้วย 5 แนวคิดหลัก ดังนี้

Baan Klang Muang CLASSE-004

 

1. Multi-Dimension Space “เชื่อมต่อทุกมิติชีวิตให้เป็นหนึ่งเดียว” เพิ่มประสบการณ์รวมถึงการใช้พื้นที่หลากกิจกรรมบนพื้นที่เดียวกัน เช่น ห้องนั่งเล่นชั้น 1 (Veranda Atrium) พื้นที่พักผ่อนที่มีดีไซน์เชื่อมต่อในแนวตั้งด้วยเพดานสูง 5.5 เมตร และการเชื่อมต่อพื้นแนวนอนสู่สวนด้านหน้า และดีไซน์ความเป็นส่วนตัวโดยเพิ่มทางเข้าบ้าน 3 แบบ โดยสามารถเข้าจากห้องรับแขก จากห้องเตรียมอาหาร หรือบันไดหน้าบ้านสู่ห้องนั่งเล่นชั้น 2 ซึ่งประสบการณ์ที่ได้จะแตกต่างกันทั้งหมด

2. Perceptual Space “ขยายขอบเขตของบ้านให้ใหญ่ขึ้น” การออกแบบบ้านโดยไม่มีการทิ้งพื้นที่ให้เปล่าประโยชน์ เชื่อมพื้นที่หน้าบ้านและสวนมาเป็นส่วนหนึ่งของห้องภายใน ที่เสมือนการขยายขอบเขตของพื้นที่ห้องออกไปด้านนอก เช่น ห้องรับประทานอาหารสามารถเชื่อมมุมมองออกไปยังสวนหลังบ้านจนถึงแนวกำแพงบ้าน รวมถึงห้องรับแขกที่สามารถเชื่อมการใช้พื้นที่ออกไปยังลานเอนกประสงค์จนถึงแนวรั้วต้นไม้

3. Outside-In Space “พื้นที่สวนเดียวหลายมุมมอง” ที่บริเวณชั้น 3 ของบ้าน โดยสวนเล็กๆ นี้ได้ถูกออกแบบเป็น Courtyard และยังได้รับการออกแบบให้อยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้จากทุกชั้นภายในบ้าน รวมถึงสามารถมองต่อเนื่องขึ้นมาจากบริเวณโถงสูงของห้องรับแขก Height Ceiling เป็นพื้นที่ต่อเนื่องทางตั้ง นอกจากมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว สวนนี้ยังทำหน้าที่เป็นช่องแสง และช่วยเพิ่มการระบายอากาศภายในได้ เรียกได้ว่าเป็นสเปซที่ให้ความสำคัญกับความสงบ และความเป็นส่วนตัวไปพร้อมๆ กัน

4. Three Generational Space “พื้นที่ที่คำนึงถึงรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย” เชื่อมความสัมพันธ์ของคน 3 ช่วงวัย คือ รุ่นปู่ย่า/ตายาย รุ่นพ่อแม่ และรุ่นลูก โดยทุกคนในครอบครัวมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น เปลี่ยนแนวคิดด้านข้อจำกัด ทำให้พื้นที่ตรงนี้กลายเป็นพื้นที่เชื่อมสายใยรัก ความอบอุ่น แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวของคนในครอบครัว อาทิ Patio Family Living ห้องนั่งเล่นของครอบครัวที่ ชั้น 2 ของบ้าน โดยเพิ่มเอกลักษณ์และความเป็นส่วนตัวด้วยการเชื่อมบันไดหน้าบ้านตรงสู่ห้องนั่งเล่น และการออกแบบที่คำนึงถึงผู้สูงอายุเป็นหลัก อาทิ ห้อง Sanctuary Unit ห้องนอนผู้สูงอายุชั้น 1 พร้อมพื้นลดแรงกระแทก (absorption floor) และราวจับในห้องน้ำ

5. Convertible Space “การออกแบบพื้นที่ที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลาย” ประโยชน์ใช้สอยเต็มพื้นที่ ฉีกกรอบคำจำกัดความแบบเดิม ยกตัวอย่าง พื้นที่เตรียมอาหารขนาดใหญ่ (Dining Terrain) ทำให้เกิดมุมมองที่โปร่ง แปลกตา จากที่จอดรถที่ไม่เป็นผนังทึบ กลายเป็นลาน-เอนกประสงค์สำหรับจัดงานสังสรรค์เล็กๆ สำหรับครอบครัวและกลุ่มเพื่อนได้อีกด้วย

FLOOR PLAN ในแต่ละชั้น

ชั้น 1

Baan Klang Muang CLASSE-005

 

ชั้น 2

Baan Klang Muang CLASSE-004x

 

ชั้น 3

Baan Klang Muang CLASSE-006

 

ภาพสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางภายในโครงการ

Baan Klang Muang CLASSE-007

 

“บ้านกลางเมือง คลาสเซ่ เอกมัย – รามอินทรา” เป็นโครงการแรกที่เอพีนำวิสัยทัศน์การใช้ชีวิตแบบ ‘Digital Community’ มาใช้จริงอย่างเป็นรูปธรรมโดย AP Digital Community จะเข้ามาส่งเสริมให้รูปแบบการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไป ผ่านการสอดผสานเทคโนโลยีล้ำสมัย เข้ากับแนวคิด IoT (Internet of Things) ที่ว่าระบบและอุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารถึงกันได้ โดยมีเป้าหมายคือช่วยกันทำงาน เพื่อให้รูปแบบการใช้ชีวิตสะดวกสบายและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยเอพีได้วางระบบสมองกลอัจฉริยะไว้เป็นคีย์สำคัญที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกชิ้นภายในบ้านให้สามารถสื่อสารและประมวลผลร่วมกัน รวมถึงการผสานนวัตกรรมระบบสั่งการด้วยเสียง ที่นอกจากจะควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านเสียงแล้ว ระบบนี้ยังทำงานร่วมกับสมองกลอัจฉริยะที่พัฒนาขั้นสูงไปจนถึงคิดคำนวณและตอบโต้กับเจ้าของบ้านได้อีกด้วย หรือระบบตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ชาญฉลาดมากขึ้น ตอบโจทย์พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยจริงได้อย่างน่าทึ่ง ช่วยให้ชีวิตของลูกบ้านเอพีสะดวกสบายและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ภาพ นายภมร ประเสริฐสรรค์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮม บมจ. เอพี (ไทยแลนด์) แถลงเปิดตัว “บ้านกลางเมือง คลาสเซ่”

Baan Klang Muang CLASSE-008

 
ที่มา เอพี (ไทยแลนด์)
วันที่ 21 กันยายน 2559

ความคิดเห็น