การทางพิเศษฯ เตรียมสร้างทางด่วนใหม่ เชื่อม"พระราม3-วงแหวน" มูลค่าโครงการ 3 หมื่นล้าน คาดเปิดใช้ปี 63

กทพ.ลงทุนเอง 3.2 หมื่นล้าน ลุยตัดด่วนใหม่ 19 กม.เชื่อม “พระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก” เผยโครงการเดินหน้าฉลุย ใช้เงินเวนคืนน้อย 807 ล้านบาท ชดเชยที่ดิน 6 ไร่ บ้าน 79 หลัง เตรียมชง ครม.ไฟเขียวโครงการ ตั้งเป้าเปิดประมูลสิ้นปีนี้ เริ่มตอกเข็ม พ.ค.ปี”60 เปิดใช้ปี”63

แนวเส้นทาง ทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก

%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a1-3-%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%84%e0%b8%b0%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%87-%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%95%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%81

 

นายณรงค์ เขียดเดช ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ระยะทาง 19 กม. ใช้เงินลงทุน 32,000 ล้านบาท รายงานผลการศึกษาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เสร็จเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ยังเหลือแต่การออกแบบรายละเอียดโครงการมีความคืบหน้าแล้วกว่า 80% คาดว่าภายในเดือน พ.ย.นี้จะแล้วเสร็จ จากนั้นจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาโครงการ ตามแผนสิ้นปีนี้จะเปิดประมูลหาผู้รับเหมาและเซ็นสัญญาก่อสร้างภายในเดือน เม.ย.-พ.ค. 2560 ใช้เวลาก่อสร้าง 39 เดือน จะแล้วเสร็จเปิดใช้ในเดือน ก.ค. 2563

ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น กทพ.จะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโครงการเองทั้งหมด ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กำลังพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างการใช้เงินกู้และการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) จะใช้รูปแบบไหนถึงจะเหมาะสมที่สุด

นายณรงค์กล่าวว่า ทางด่วนสายนี้เป็นโครงการเร่งด่วนที่ กทพ. ต้องเร่งผลักดันให้เกิดขึ้น เนื่องจากปัจจุบันทางพิเศษเฉลิมมหานครหรือทางด่วนขั้นที่ 1 บริเวณดาวคะนอง ซึ่งเป็นเส้นทางหลักสายหนึ่งในการเดินทางเข้าใจกลางเมือง โดยต้องผ่านสะพานพระราม 9 เพียงสะพานเดียว ส่งผลให้มีปริมาณการจราจรหนาแน่นมาก อีกทั้งสะพานมีอายุการใช้งานนานกว่า 30 ปี หากต้องปิดซ่อมเพื่อปรับปรุงจะส่งผลกระทบด้านการจราจรอย่างมาก

“เพื่อเป็นการรองรับผลกระทบดังกล่าวจึงต้องเร่งสร้างทางด่วนสายนี้โดยเร็วโดยแนวเส้นทางโครงการจะสร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานพระราม 9 เดิมเพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาการจราจรซึ่งโครงการนี้จะเดินหน้าได้เร็วเพราะแบบรายละเอียดก่อสร้างพร้อมแล้ว และการเวนคืนก็น้อย ในช่วง 500 เมตรจากด่านเก็บเงินสุขสวัสดิ์ มีที่ดินถูกเวนคืน 68 แปลง หรือประมาณ 6 ไร่ และสิ่งปลูกสร้าง 79 หลัง วงเงิน 807 ล้านบาท เพราะส่วนใหญ่จะสร้างบนเกาะกลางถนนพระราม 2 เป็นหลักจนไปสิ้นสุดปลายที่ทางต่างระดับบางขุนเทียน”

โครงการสร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานพระราม 9

%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b8%82%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a1-9

 

สำหรับแนวเส้นทางโครงการเริ่มต้นที่ กม.10 700 ถนนพระราม 2 เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจรสร้างซ้อนทับบนทางด่วนขั้นที่ 1 จนถึงถนนพระราม 3 ใกล้แยกต่างระดับบางโคล่และบรรจบกับ ทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดโครงการ ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจะสร้างสะพานใหม่ขนานกับสะพานพระราม 9 ขนาด 8 ช่องจราจร เมื่อแล้วเสร็จจะลดปัญหาการจราจรบนทางด่วนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ถนนพระราม 2 และบริเวณใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี

นายณรงค์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้เห็นชอบให้โครงการทางด่วนสายนี้เข้าร่วมโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST) เพื่อสร้างความโปร่งใสสำหรับโครงการก่อสร้างภาครัฐขององค์กร CoST คือการจัดให้มีระบบการเปิดเผยข้อมูล ที่เข้าถึงได้และเข้าใจได้โดยง่าย และการจัดให้มีระบบในการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนสิ่งที่เป็นวัตถุประสงค์ร่วมของทุกฝ่าย ซึ่งท้ายที่สุดจะส่งผลให้เกิดการเพิ่มความคุ้มค่าและการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการ ก่อสร้างภาครัฐ โดยผลการดำเนินการของ กทพ.

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 15 ตุลาคม 2559

ความคิดเห็น