Shma เสนอไอเดีย "Bangkok Green Link" เพิ่มเส้นทางสีเขียวมากกว่า 30 ไมล์เข้าสู่กรุงเทพฯ

งานนิทรรศการสมาคมนักออกแบบเมืองไทยปี 2562 Shma ได้เปิดตัว “Bangkok Green Link” โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะฟื้นฟูเมือง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เมืองหลวงของไทยมีความน่าอยู่เพิ่มมากขึ้น ด้วยเส้นทางสีเขียวกว่า 30 ไมล์ (48 กิโลเมตร)

โครงการนี้สร้างโครงข่ายทางเชื่อมสีเขียวกลางกรุงเทพมหานครภายใต้แนวคิดที่ว่า “Revitalize City Infrastructure to Relink Urban Life” เพื่อเชื่อมชีวิตผู้คน และคืนธรรมชาติให้แก่เมืองอีกครั้ง พร้อมพัฒนาศักยภาพต่างๆ ของเมืองให้มีคุณภาพขึ้นไปอีกขั้น ไม่ว่าจะเป็น เส้นทางคลอง ทางรถไฟ พื้นที่ใต้ทางด่วน และทางเท้าให้เกิดการเชื่อมโยงของพื้นที่สาธารณะ ย่านและเมืองเข้าด้วยกัน

 

กรุงเทพ เมืองแห่งสีสัน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเมืองที่มีความพลุกพล่าน และความวุ่นวาย นั่นอาจเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีนักสำหรับกรุงเทพ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของเมืองมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันนั้น ก็ยังไม่มีการวางแผนการจัดการระบบผังเมืองเพื่อแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง ดังนั้นเพื่อเป็นการรองรับการพัฒนาอย่างรวดเร็วพื้นที่ว่างเปล่าและคลองหลายแห่งของเมืองจึงถูกปูทับด้วยพื้นที่สีเขียว

 

นอกจากนี้ด้วยเครือข่ายการขนส่งสาธารณะที่ไม่เพียงพอได้ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดอย่างรุนแรงและเกิดมลพิษทางอากาศเพื่อทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากขึ้น Shma จึงได้พัฒนา “โครงการ Bangkok Green Link” ด้วยแนวคิดของ “การฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อการเชื่อมโยงชีวิตในเมือง”

โครงการ Bangkok Green Link จึงเปรียบเสมือนหัวใจของเมืองกรุงเทพ ที่ประกอบไปด้วยเส้นทางเดินรถใหม่ระยะทาง 54 กิโลเมตรและต้นไม้ใหญ่ที่มากถึง 10,800 ต้น ซึ่งสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละประมาณ 1,620 ตันและกรองฝุ่นได้ปีละ 3,580 ตัน นักออกแบบเชื่อว่าการเพิ่มพื้นที่สีเขียว สามารถเพิ่มราคาที่ดินและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อยู่อาศัยในการใช้ชีวิตที่ดีและต่อสู้กับความร้อนในเมือง ซึ่งจะได้รับการพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาคลอง, รถไฟ, ทางเท้าที่มีอยู่และพื้นที่ใต้ทางด่วนให้เกิดการเชื่อมโยงของพื้นที่สาธารณะ ย่านและเมืองเข้าด้วย

 

Shma ได้จัดให้มีการเสนอเส้นทางอนุรักษ์รวม 54 กิโลเมตรแบ่ง เป็นเส้นทางวงแหวนรอบนอกระยะทาง 28 กิโลเมตรและเส้นทางครอสโอเวอร์ 26 กิโลเมตร

ซึ่งเส้นทางวงแหวนรอบนอกประกอบไปด้วย 4 ทางเชื่อมหลัก คือ ทางเชื่อมเมืองที่ยาว 10 กิโลเมตร โดยแบ่งออกเป็นอีก 6 ส่วน สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ , ทางเชื่อมสาทร ซึ่งจะผ่านถนนสายสำคัญในเขตศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ , ในส่วนของการเชื่อมโยงทางรถไฟ จะเปลี่ยนพื้นที่ข้างทางรถไฟ ให้กลายเป็นทางด่วนจักรยาน และ เส้นทางที่เชื่อมโยงกับถนนวิภาวดี ที่มีบริการลานจอดรถ มีมอเตอร์เวย์ที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพชั้นในกับด้านเหนือของเมือง และส่วนของเส้นทางครอสโอเวอร์จะประกอบไปด้วยทางเชื่อมย่อย 8 จุด เพื่อเชื่อมต่อย่านอื่นๆที่ปัจจุบันยังเข้าไปไม่ถึง

 

ทั้งนี้หากรวมอีก 4 เส้นทางหลักครอบคลุมวงแหวน ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนของกรุงเทพมหานครในที่สุด

 

 

ที่มา : inhabitat.com

ความคิดเห็น