เมื่อเทคโนโลยีทำให้พืชผักมีชีวิตด้วยเสียงเพลงและแสงไฟ

 

จากเมื่อก่อน เรือนกระจกคือพื้นที่ที่เอาไว้เพราะปลูกต้นไม้นานาชนิด สีสันที่สดใสเหล่านั้นล้วนมาจากสีตามธรรมชาติของพืช แต่ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวเข้ามามีบทบาทกับชีวิตมนุษย์ทุกตารางนิ้ว ไม่เว้นแม้กระทั่งเกษตรกรรม ที่นำเอาระบบดิจิตอลเข้ามาใช้ในเรือนกระจก เป็นความน่าสนใจที่ดึงดูดมาก เมื่อมนุษย์ได้เข้าใกล้กับธรรมชาติมากกว่าที่เคย

 

 

เรือนกระจกสำหรับเพาะปลูกพืชแบบดิจิตอลนั้นได้เกิดขึ้นโดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อน สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองโตเกียว ประดับประดาไปด้วยไฟที่มีสารก่อให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม และมีวงดนตรีผัก ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ของ studio PARTY ได้ออกแบบบทสนทนาเกี่ยวกับการเกษตร ให้มนุษย์ได้สนทนากับพืชผัก ด้วยการกระตุ้นให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมนั้นได้สัมผัส ได้กลิ่น และได้ยินเสียงการเจริญเติบโตของต้นพืชเหล่านั้น

 

 

โครงสร้างของเรือนกระจกได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วยระบบดิจิตอล มีสายดนตรีกับไฟ LED มีผัก 7 ชนิดที่ปลูกอยู่บนแปลง เมื่อผู้เยี่ยมชมได้สัมผัส พืชผักเหล่านั้นก็จะทำการแสดงโชว์ทั้งแสงและเสียงอย่างต่อเนื่องกัน

 

โปรแกรมการแสดงไฟนีออนด้วยระบบดิจิตอลได้แรงบันดาลใจมากจาก การเจริญเติบโตของพืชที่เกิดขึ้นใต้พื้นผิวของโลก ส่วนเสียงนั้นตั้งใจสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยศิลปินชาวญี่ปุ่น Ray Kunimoto เขาได้ผสมผสานเสียงของทุ่งอันกว้างใหญ่ เสียงของเมล็ดพันธุ์ที่เจริญเติบโตอยู่ในดิน เสียงของใบไม้ที่ถูกสัมผัส เสียงของผลไม้ที่โดนกัดกิน หรือแม้กระทั่งการประสานเสียงเครื่องดนตรีของวงออร์เคสตรา

 

 

Kunimoto ได้กล่าวว่า “มะเขือเทศเป็นไวโอลิน แคร์รอตเป็นทรัมเป็ต กะหล่ำปลีเป็นโอโบ หัวไช้เท้าเป็นฟลูต มันเทศเป็นเปียโน มะเขือยาวเป็นฮาร์ปและฟักทองเป็นคลาริเน็ต”

 

 

เรือนกระจกระบบดิจิตอลนี้จะทำให้เราเข้าไปอยู่ในโลกที่มีแต่พืชผัก แสงสีเสียงด้วยการสัมผัส คงจะน่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อย หากได้รับชมการแสดงของพืชผักสักครั้งในชีวิต

 

ที่มา : edition.cnn.com

 

 

 

 

ความคิดเห็น