คบคิดพาดู MEGA PROJECT 2019 : Chapter 1 Rail&Road

 

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและโลจิสติกส์ภายใต้ EEC จะพัฒนาในทุกเส้นทางการคมนาคมไม่ว่าจะเป็น Road Rail Marine หรือ Aviation รถ-ราง-เรือ-เครื่องบิน ถือว่าปี 2562 เป็นอีกปีที่จะมี Mega Project จำนวนมาก ไม่ใช่แค่การเดินทาง แต่ยังรวมไปถึง Project อื่นๆ ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการอีก หากทุกโครงการเสร็จสมบูรณ์ การันตีได้เลยว่าทั้งการคมนาคม และเศรษฐกิจจะขับเคลื่อนไปได้อย่างเต็มรูปแบบแน่นอน

 

เราจะพาไปดู Mega Project ในแต่ละเส้นทางกัน ว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง เริ่มจากทาง Rail หรือ ราง กันก่อนเลย เพราะเป็นโครงการที่ดึงดูดความน่าสนใจของนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้มาก นอกจากนี้ยังเป็นโครงการสำคัญที่รถไฟฟ้าความเร็วสูงจะเชื่อมต่อกัน 3 สนามบินได้แบบไร้รอยต่ออีกด้วย

 

 

Rail (ทางราง) : รถไฟฟ้าความเร็วสูง มีโครงการที่จะพัฒนา ดังนี้

รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ – ระยอง ระยะทางประมาณ 193.5 กิโลเมตร

รถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยานดอนเมือง – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมระยะทางประมาณ 50.5 กิโลเมตร

โครงการระบบรถไฟเชื่อมต่อท่าอากศยานดอนเมือง – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในระยะที่ 2 (ช่วงดอนเมือง – บางซื่อ – พญาไท) ระยะทางประมาณ 21.8 กิโลเมตร

โครงการแอร์พอร์ตลิงค์ Airport Rail Link (ช่วงพญาไท – สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 28.7 กิโลเมตร ซึ่งในส่วนนี้ได้เปิดให้บริการไปแล้ว

รถไฟรางคู่ (ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย)

รถไฟทางคู่เฟส 2 (ช่วงเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ)

การก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภา

 

 

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน จะต้องมีการก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา

 

 

จากเดิมรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) มีทั้งหมด 8 สถานีที่เปิดให้บริการแล้ว คือ สถานีพญาไท สถานีราชปรารภ สถานีมักกะสัน สถานีรามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีบ้านทับช้าง สถานีลาดกระบัง และสถานีสุวรรณภูมิ จะมีการเพิ่มสถานีใหม่ เป็นส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี คือ สถานีบางซื่อ และสถานีดอนเมือง และจะเป็นส่วนของรถไฟความเร็วสูง ตั้งแต่กรุงเทพฯ (สถานีสุวรรณภูมิ) ไปจนถึง ระยอง (สถานีอู่ตะเภา) มีทั้งหมด 5 สถานี คือ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา รวมระยะทางกว่า 220 กิโลเมตร

 

 

ความเร็วของรถไฟ เมื่อวิ่งในเมืองจะอยู่ที่ 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง คือช่วงระหว่าง สถานีดอนเมืองถึงสถานีสุวรรณภูมิ แต่เมื่อวิ่งระหว่างเมืองจะอยู่ที่ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง คือช่วงระหว่างสถานีสุวรรณภูมิถึงสถานีอู่ตะเภา ดังนั้นระยะเวลาในการเดินทางจากสถานีดอนเมืองถึงสถานีอู่ตะเภา (หยุดทุกสถานี) ประมาณ 2 ชั่วโมง และระยะเวลาในการเดินทางจากสถานีดอนเมืองถึงสถานีอู่ตะเภา (ไม่จอดระหว่างทาง) ประมาณ 1 ชั่วโมง

 

นอกจะจากพัฒนาในเรื่องของรถไฟฟ้าความเร็วสูงแล้ว ยังมีการพัฒนาพื้นที่โดนรอบรถไฟฟ้าด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่มักกะสันของ รฟท. ประมาณ 150 ไร่ และพื้นที่สถานีศรีราชาอีกประมาณ 25 ไร่

 

 

 


 

Road (ทางรถ) : Intercity Motorways โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง มีโครงการที่จะพัฒนา ดังนี้

– มีการก่อสร้างทาง Motorway 3 เส้นทางด้วยกัน คือ

1. ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน – นครราชสีมา

2. ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี

3. ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ – มาบตาพุด

– ปรับปรุงทางหลวงบริเวณอู่ตะเภา มาบตาพุด และถนนเลียบชายฝั่งทะเล (ระยอง – ชลบุรี)

 

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน – นครราชสีมา ระยะทางรวม 196 กิโลเมตร งบลงทุนประมาณ 84,600 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างงานโยธา

 

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี ระยะทางรวม 96 กิโลเมตร งบลงทุนประมาณ 55,620 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างงานโยธา

 

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ – มาบตาพุด ระยะทางรวม 31.159 กิโลเมตร งบลงทุนประมาณ 20,200 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างงานโยธา

 

เห็นโครงการและงบประมาณแล้วก็เหนื่อยล่วงหน้าเลย เพราะนี่แค่โครงการ Motorways และ Rail Way ยังลงทุนมหาศาลขนาดนี้ แต่ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อความสะดวกสบายของประชาชนและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นี่เป็นเพียง Chapter แรกเท่านั้นที่เรานำมาเสนอ รอติดตามความน่าสนใจกันต่อใน Chapter หน้าเร็วๆ นี้ได้เลย 

 

 

 

อ้างอิง : www.eeco.or.th , www.hsr3airports.com , www.motorway.go.th , www.motorway.go.th/2018

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ตอนที่ 2 คบคิดพาดู MEGA PROJECT 2019 : Chapter 2 AVIATION&MARINE

 

ความคิดเห็น