โปรดทราบ! คุณกำลังอ่านเนื้อหาจากเว็บไซต์เก่า ลิงก์หรือการใช้งานอื่นๆจะไม่สามารถใช้งานได้
รัฐบาลผลักดันโครงการ "อีสต์-เวสต์ คอริดอร์" เชื่อมเศรษฐกิจ มหาสมุทร อินเดีย - แปซิฟิก
ลงเมื่อ 30-06-2016 12:05:14
รัฐบาลผลักดันโครงการ "อีสต์-เวสต์ คอริดอร์" (East-West Economic Corridor) เชื่อมเศรษฐกิจ มหาสมุทร อินเดีย - แปซิฟิก

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เน้นย้ำ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันอังคารที่ 28 มิ.ย.นี้ กระทรวงคมนาคมจะนำแผนพัฒนาระบบคมนาคมภาคตะวันออกเข้าหารือเพื่อขอความชัดเจนในการดำเนินการ ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างทางรถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตก(East-West Corridor) โครงการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ แผนพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา รวมถึงการพัฒนาเส้นทางถนนและทางรางที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
สำหรับโครงการ (อีสต์-เวสต์ คอริดอร์) เริ่มต้นจากการกางแผนที่ประเทศไทย แล้วมองภาพไปพร้อมๆ กัน ก็จะเห็นว่า ประเทศไทย มีภูมิศาสตร์ ที่เป็นจุดสำคัญ คือการเป็นจุดศูนย์กลางของการเชื่อมสองมหาสมุทรของโลก โดยฝั่งอ่าวไทย คือมหาสมุทรแปซิฟิก และ ฝั่งอันดามัน คือ มหาสมุทรอินเดีย
ซึ่งแนวคิด “คอดกระ” หรือ “โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงทะเลอันดามันและอ่าวไทย” หรือ (Landbridge) ที่เริ่มจะเป็นเรื่อง “ล้าสมัย” เพราะกำลังจะถูกทดแทนด้วย แนว “การขนส่งระบบราง” ที่มีประสิทธิภาพและประหยัดมากกว่า นั่นก็คือ “อีสต์-เวสต์ คอริดอร์”
ข้อดีเมื่อมองจากลักษณะภูมิศาสตร์ประเทศไทย ทางซ้ายคือ ประเทศอินเดีย และกลุ่มประเทศในอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย ตลาดการค้าขนาดใหญ่ ประชากรนับพันล้านคน ลากต่อไปจนถึงภูมิภาคตะวันออกกลาง ส่วนทางเหนือคือประเทศจีน ตลาดใหญ่ ที่มีประชากรนับพันล้านคนเช่นกัน ส่วนเมื่อมองทางขวา คือ ทางตะวันออก เป็นมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลจีนใต้ และลากขึ้นเหนือไปถึงกลุ่มประเทศทะเลเหลือง จนถึงประเทศรัสเซีย ซึ่งมูลค่าการค้า บนเส้นทางนี้ จะมีมูลค่าสูงมากน้อยเพียงใด และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยขนาดไหน เพราะมันมากมายมหาศาลเกินกว่าจะมานำเสนอได้บนพื้นที่อันจำกัดนี้
“อีสต์-เวสต์ คอริดอร์” คือจุดบรรจบที่ลงตัวที่สุด ที่จะเชื่อมสองฟากนี้เข้าด้วยกัน ด้วยศักยภาพประชากร ที่มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก ถึงตรงนี้แล้ว ไม่น่าแปลกใจ ที่ ทำไม ดร.สมคิด จึงเน้นย้ำและให้ความสำคัญกับโครงการนี้
ภาพรวมโครงการ “คอริดอร์ส” (corridors) ที่รัฐบาลพยายามผลักดันในอนาคตทั้งหมด ที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองสำคัญๆ ในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion) ประกอบด้วย 6 ประเทศคือ ไทย จีน (มณฑลยูนนาน) เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า

ที่มา : thaiquote.org
ภาพจาก : economists-pick-research.hktdc.com
วันที่ 28 มิถุนายน 2559

สมัครสมาชิก

อ่านเงื่อนไขการให้บริการ Terms & Conditions และ Privacy Policy
ยอมรับ และลงทะเบียนเพื่อสมัคร
ยอมรับ และสมัครง่าย ๆ ด้วย facebook